วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 8

การแบ่งPartition 

การแบ่งPartitionก็คือการแบ่งพื้นที่ HDD ออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของเราโดยจะมีชื่อเรียกพื้นที่ต่างๆ คือ
  1. Primary จะใช้เก็บ OS หรือ Windows
  2. Extended เป็นพื้นที่ๆเหลือจาก Primary และจะคลอบคลุมพื้นที่ Logical
  3. Logical จะเป็นพื้นที่ภายใต้ Extended และจะถูกแบ่งออกเป็น Drive ย่อยๆเช่น D:, E:, F


จุดประสงค์ในการแบ่งพาร์ติชั่น
1. เพื่อทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถ Boot ด้วยตัวเองได้ เรียกว่า การ Set Active Partition
2. เพิ่มจำนวนไดร์ฟให้มากขึ้น เพื่อต้องการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นสัดส่วน
3. ลดขนาดของฮาร์ดดิสก์ให้เล็กลง เพื่อนำฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ไปใช้กับเครื่องรุ่นเก่าได้
ความหมายของแฟต (FAT)
Cluster หรือ Sector ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้บันทึกข้อมูลแบ่งได้เป็น2ขนาดคือ
1.ขนาด FAT 16 (File Allocation Table) มีความเร็วในการทำงาน 16 bit
 จะเป็นการแบ่งฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุตั้งแต่ 16 เม็กกะไบต์จนถึง 2.1 กิกะไบต์ 
และต้องใช้ DOS 6.22 , WIN 95 ในการแบ่งพาร์ติชั่น
2.ขนาด FAT 32 (File Allocation Table) มีความเร็วในการทำงาน 32 bit 
จะเป็นการแบ่งฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุตั้งแต่ 512 เม็กกะไบต์ขึ้นไปและต้องใช้ WIN 95 OSR 2 , 
WIN 98 ในการแบ่งพาร์ติชั่น


ประโยชน์ของการแบ่ง Partition 

ก็เพื่อใช้เก็บข้อมูลสำคัญต่างๆออกจาก OS เพื่อความปลอดภัยจาก virus 
ได้ในระดับนึงเพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ windows ด้ว


การ Format

คือการลบข้อมูลทั้งหมดใน Partition นั้น ๆ ข้อมูลจะหายไปทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วข้อมุลยังอยู่ เพราะคอมพิวเตอร์แค่ไป mark ไว้เท่านั้นว่าข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลว่างสามารถใช้งานได้ ทำให้แม้ว่าจะ Format ข้อมูลใน Hard Disk ไปแล้ว ก็ยังสามารถกู้ข้อมูลกลับคืนมาได้ 
การFormat กี่ครั้งก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว จะ Format ก็ต่อเมื่อต้องการติดตั้ง OS ใหม่เป็นเหตุผลหลัก
ขั้นตอนการ Format สามารถทำได้ 2 วิธี
   แบบ Command Prompt มีขั้นตอนดังนี้
         - คลิกที่ Start >> run >> พิมพ์ cmd
         - พิมพ์ format และชื่อ drive เช่น format d:
    แบบ GUI  มีขั้นตอนดังนี้
         - เปิด My Computer
         - คลิกที่ Drive ที่ต้องการ Format
         - คลิกขวาแล้วเลือก Format
         - เลือกประเภทของ File System ที่ต้องการว่าจะใช้ Fat, Fat32 หรือ NTFS
         - คลิกที่ Start เพื่อเริ่ม Format

    วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

    ใบงานที่ 7 tips trick การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์

    ปัญหาของฮาร์ดแวร์


    เมาส์
    ปัญหา : เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว
    สาเหตุ : สายเมาส์เสียบไม่แน่นหนาในช่องเสียบที่ถูกต้อง ซึ่งอยู่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์
    การแก้ปัญหา : ตรวจสอบและเสียบสายเมาส์ให้แน่น

    ปัญหา : เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว
    สาเหตุ : ไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ของเมาส์ หรือ ติดตั้งไดรเวอร์ที่ไม่ถูกต้อง
    การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งไดรเวอร์ของเมาส์ที่ถูกต้อง จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ให้คลิกที่ปุ่ม Start จากนั้น ชี้ไปที่ Settings แล้วคลิกที่ Control Panel เมื่อเห็นหน้าต่าง Control Panel ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Mouse แล้วคลิกที่แท็บ General




    ไม่สามารถใช้งาน ฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 8G. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ
    เกิดจากที่ BIOS ไม่สามารถรู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้ จะเป็นกับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ ที่เคยพบมาอีกแบบคือ Windows มองเห็นเกิน 8G แต่ไม่สามารถใช้งานได้ จะบอกว่าฮาร์ดดิสก์ของเราเต็ม วิธีแก้ไขอย่างแรกคือ ให้ลองทำการ Update BIOS เป็น Version ใหม่ดูก่อน (ถ้าหาได้) หรือไม่ก็หา Download โปรแกรมสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อนั้น ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการแบ่ง Partition ให้มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 8G ต่อ 1 Partition ก็อาจจะช่วยได้


    ปัญหาของซอฟต์แวร์

    พิมพ์หน้า Web Page ออกเครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet เป็นภาษาไทยไม่ได้ จะมีแต่ภาษาอังกฤษ
    ส่วนใหญ่ ปัญหานี้จะเกิดกับการใช้เครื่องพิมพ์แบบ อิงค์เจ็ท รุ่นใหม่ ๆ วิธีแก้ไขคือ ให้ลองหา Download Driver รุ่นใหม่ ๆ ของเครื่องพิมพ์จาก Web Site ของเครื่องพิมพ์นั้น ๆ เพราะบางครั้งอาจจะมีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว หรือไม่ก็ใช้วิธีเข้าไปตั้งค่า Regional Settings ที่ Control Panel เป็น English(USA) ก่อน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็น Thai เหมือนเดิม การตั้งค่าก็ทำโดยกดที่ Start เมนู >> Settings >> Control Panel เลือกที่ Regional Settings เปลี่ยนเป็น English(USA)

    วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    ใบงานที่ 5

    CD-ROM (ซีดีรอม)


    CD-ROM Drive






    เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
    1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
    2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
    3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
    4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
    5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
    6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
    กลับด้านบน





    ส่วนประกอบต่างๆของแผ่น CD-ROM




    1.      ชั้นพลาสติค (Polycarbonate Plastic) เป็นชั้นที่มีความหนาและน้ำหนักมากที่สุดทำด้วยสารจำพวกโพลีคาร์บอเนต หน้าที่ของชั้นนี้คือป้องกันความเสียกายของข้อมูลที่อยู่ในชั้นถัดไปเป็น ชั้นที่ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ในการโฟกัสหาข้อมูลของแสงเลเซอร์ที่ยิงมาจาก เครื่องอ่านซีดี

    2.       ชั้นข้อมูล เป็นสารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆ ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ โดยโครงสร้างแล้วจะแบ่งเป็นแทร็กที่เรียงต่อกันเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย

    3.      ชั้นสะท้อนแสงกลับ เป็นชั้นทำด้วยโลหะ เพื่อให้แสงเลเซอร์ที่ยิงเข้ามาอ่านข้อมูลสะท้อนกลับไปแปลงเป็นรูปแบบข้อมูลที่เครื่องเล่นได้ เหตุที่เรามองเห็นแผ่นซีดีเป็นมันเงาก็เนื่องมาจากชั้นสะท้อนแสงกลับของแผ่นซีดีนี้เองบนชั้นนี้จะมีสารอะครีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminium เพื่อป้องกันผิว ส่วนป้องกัน เป็นส่วนที่เคลือบไว้บางๆบนชั้นสะท้อนแสงกลับเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสะท้อนแสงกลับได้รับความเสียหาย ซึ่งจะมีผลกระทบในความสามารถของการอ่านข้อมูลบนแผ่นโดยตรง

    4.      ชั้นสลากหรือสติ๊กเกอร์(Label) เป็นชั้นที่อยู่ด้านบนสุด นอกจากใช้เป็นฉลากบ่งบอกรายละเอียดในแผ่นซีดีแล้ว ยังช่วยป้องกันความเสียหายให้ชั้นสะท้อนแสงกลับอีกด้วย







    CD-RW (CD-Rewritable) : เป็น แผ่นที่ต่างจากแผ่นซีดีทั่วไป คือ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงแผ่นแล้วผู้ใช้สามารถลบหรือบันทึกทับข้อมูลเดิมได้ หลายครั้ง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่เคลือบอยู่บนพื้นผิว

    DVD-rom เป็น แผ่นจานแสงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความจุใน การเก็บข้อมูลแบบดิจิตอล ได้สูงกว่าแผ่นซีดี เป็นจำนวนมาก หลักการของแผ่นดีวีดีนั้น ใช้หลักการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบกับพื้นผิวของจานแสงเหมือนกับแผ่นซีดี แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่แสงเลเซอร์ของแผ่นดีวีดี นั้นมีขนาดที่เล็กกว่าลำแสงของแผ่นซีดี ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลลงไปภายในได้มากกว่า โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 4.7 พันล้านไบต์ (Giga Bytes: GB) ต่างกับแผ่นซีดีที่มีความจุสูงสุดเพียง 650 MB เท่านั้น


    DVD-RW และ DVD+RW เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียนเพิ่มเติมลงไปได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่น หรือว่าจะลบข้อมูลทั้งหมดเพื่อเขียนซ้ำลงไปใหม่ได้ ถ้าเป็น DVD-RW เวลาเขียนข้อมูงใหม่เพิ่มเติมลงไปทีละ Session จำเป็นที่จะต้องลบหรือย้ายข้อมูลเก่าทั้งแผ่นออกก่อน ส่วนDVD+RW จะสามารถเขียนข้อมูลใหม่เพิ่มเติมลงไปที sesionได้เลยโดยไม่ต้องลบข้อมูล




    Blu-ray มีขนาดแผ่นเท่าๆกับ CD/DVD แต่มีความจุมากกว่าเพราะสามารถจุได้สูงถึงระดับหลายสิบกิกไบต์ (GB) เพื่อรองรับภาพยนตร์ที่ใช้ระดับภาพความระเอียดสูง บริษัท Sony เป็นผู้คิดค้นและออกแบบโดย Apple ,Dell, HPและค่ายอื่นๆรวมถึงค่ายภาพยนตร์อย่าง Columbia Picture ของ Sony ให้การสนบสนุนตัวแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปแต่มีความจุมากกว่าคือ 25 GB และ50 GB

    ใบงานที่ 4

    Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) 





    Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) 

    คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด  ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน, แบบอนุกรมและแบบเล็กทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของ บริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอกซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็น ของตนเอง เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk

    ส่วนประกอบของ Hard Disk 



    1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )
     ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ใน การหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor

    2 . หัวอ่าน ( Head )
        เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะ นำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการ เหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น

    3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters )
        มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

    4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter )
        เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

      5. เคส ( Case )
        มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง



    ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบ่งตามการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ)


    1.       1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics) แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพ ขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง

    2.       
    2.      2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
     แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว
      
       3.แบบ SCSI (Small Computer System Interface)  แบบ SCSI (สะกัสซี่) เป็น Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320 เมกะไบต์/วินาที

      4.แบบ Serial ATA  เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และอีกไม่นานจะพลัดใบเข้าสู่ความเป็น Serial ATA II ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เริ่มเจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที และอีกสาเหตุมาจากสายแพแบบ Parallel ATA เพื่อการส่งผ่านข้อมูลนั้นมีขนาดความกว้างถึง 2 นิ้ว และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปและด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ลงได้










    วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    ใบงานที่ 2 คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยี

    1.3  คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง  ๆ หรือ อื่น ๆ (เช่น  Alphanumeric Characters , CCD ,ฯลฯ)



    1. AGP ย่อมาจาก Accelerated Graphics Port หมายถึง ระบบกราฟฟิกความเร็วสูง ที่พัฒนาโดยบริษัทอินเทล

    2. Media Center  หมายถึง ศูนย์อุปกรณ์การสอนหรือศูนย์สื่อโสตทัศน์เช่น วิดีทัศน์ ภาพนิ่ง สไลด์ เป็นต้น

    3. Close Circuit TV หมายถึง หมายถึงระบบการส่งโทรทัศน์ที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถเชื่อมโยงติดต่อกันด้วยสายแทนการออกอากาศตามธรรมดาของสถานีโทรทัศน์

    4. Video conference หมายถึง เป็นการใช้เครื่องวิดีโอและโทรทัศน์ในการรับส่งภาพและข้อมูล การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม

    5 . CD Interactive หมายถึง ระบบการสื่อสารแบบสองทางซึ่ง แต่ละส่วนของระบบจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกันโดยสามารถอ่านข่าวสารส่งสัญญาณเชิงตัวเลข โดยแสงเลเซอร์จากแผ่นโลหะเล็ก ๆ

    6. CD-R ย่อมาจาก compact disk recordable เป็น CD ที่สามารถเขียน หรือ writeข้อมูลได้ครั้งเดียว และสามารถอ่านข้อมูลได้หลายครั้ง แต่ไม่สามารถลบ (erase) ข้อมูลใน CD-Rได้ ปัจจุบัน CD-R แต่ละแผ่นมีความจุตั้งแต่ 650 MB ขึ้นไป

    7. CD-RW ย่อมาจาก compact disk rewriteable หรือ erasable optical disk แผ่นซีดีประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ CD-R ต่างกันที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ คือ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้หลายครั้ง CD-RW นิยมใช้กับงานออกแบบและนำเสนอในรูปของมัลติมีเดีย

    8. DVD ย่อมาจาก digital versatile disk สามารถบันทึกข้อมูลได้สองหน้า หน้าหนึ่งมีความจุสูงถึง 4.7 GB ก็คือซีดีรอมประเภทใหม่ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นดิสก์ปัจจุบันถึง 15 เท่า โดยใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลดิจิตอลตามมาตรฐาน MPEG2 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการแก้ปัญหาในเรื่องของความเร็วในการอ่านข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ดูสมจริงมากขึ้น

    9. Hypermedia เป็นระบบมัลติมิเดียที่รวมเอาความสามารถในการเชื่อมโยงแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์เข้าไว้ด้วยกันโปรแกรมในซีดีรอมมักจะมีความสามารถแบบไฮเปอร์มิเดีย

    10. daisy-wheel printer หมายถึง  เครื่องพิมพ์ของคอมพิวเตอร์แบบที่ใช้จานพิมพ์แบบดอกเดซี่

    11. alphanumeric characters หมายถึง ตัวอักขระทั้งหมดที่เป็นได้ทั้งตัวอักษร (a, b, c,…) ตัวเลข (1, 2, 3,...) สัญลักษณ์พิเศษ ช่องว่าง และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ( #, 4,…)


    12. analog display หมายถึง ความสามารถของจอแสดงผลที่กระจายสีเป็นช่วงต่อเนื่องตามระดับความเข้มของสีเทาหรือสีทั่วไปต่างจากการแสดงผลแบบดิจิตอล ซึ่งจะกระจายสีได้ในขอบเขตจำกัดทั้งสีเทาหรือสีทั่วไปจอ VGA แสดงผลแบบแอนะล็อก ขณะที่จอ EGA แสดงผลเป็นดิจิตอล


    13. animation หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหวตามภาพที่วาดหรือสร้างไว้การทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยการแสดงผลภาพชุดหนึ่งที่เร็วมาก ๆจนเรามองเป็นภาพต่อเนื่อง


    14. analog-to-digital converter หมายถึง ใช้คำย่อว่า ADC หรือ A-D converter, อุปกรณ์แปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิตอล เมื่อสัญญาณแอนะล็อกแปลงเป็นดิจิตอลแล้วจึงส่งมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล และส่งข้อมูลได้ประเด็นสำคัญของตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอล

    15. AMR (Adaptive Multi Rate) หมายถึง ไฟล์เสียงในมาตรฐานใหม่ที่ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายยุคใหม่ส่วนมากเราจะเห็นไฟล์เสียงแบบ AMR ในโทรศัพท์มือถือที่รองรับบริการ MMS

    ใบงานที่ 2 คำศัพท์ด้านอินเตอร์เนต


    1.2  คำศัพท์ด้านอินเตอร์เน็ต( HTTP , HTTPS ฯลฯ)


    1. ADDRESS แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์

    2. BROSWER หมายถึง โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer เป็นต้น

    3. DIAL UP หมายถึง การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์

    4. DNS ย่อมาจาก Domain Name Server หมายถึง การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet

    5. ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line หมายถึง อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างหนึ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่เรายังคงใช้โทรศัพท์พร้อมกันได้ด้วย

    6. HOME PAGE หมายถึง เอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ

    7. POP SERVER หมายถึง เซอร์เวอร์ที่ใช้ในการรับส่ง Email

    8. SPAM MAIL หมายถึง Email ที่ถูกส่งมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม โดยมีลักษณะคือส่งมาบ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ

    9. WEBMASTER หมายถึง ชื่อตำแหน่งของผู้ที่สร้าง ดูแล จัดการ web ทั้งนี้อาจหมายถึงเข้าของ web ก็ได้

    10. PROXY SERVER หมายถึง เซอร์เวอร์หรือโฮสต์ ใช้สำหรับเพิ่มความเร็วในการเล่นเน็ต โดยเก็บข้อมูลใน proxy server ทำให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาข้อมูลในต่างประเทศอีก

    11. AUTHORING TOOL หมายถึง เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www.

    12. BRIDGE หมายถึง อุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น

    13. DOWNLOAD หมายถึง การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพไฟล์ภาพยนตร์ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

    14. CLIENTS หมายถึง คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ที่เข้ามาขอใช้ข้อมูลจาก server ผ่านทางระบบเครือข่าย

    15. BACKBONE หมายถึง การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย