CD-ROM (ซีดีรอม)
CD-ROM Drive
เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับด้านบน
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับด้านบน
1. ชั้นพลาสติค (Polycarbonate Plastic) เป็นชั้นที่มีความหนาและน้ำหนักมากที่สุดทำด้วยสารจำพวกโพลีคาร์บอเนต หน้าที่ของชั้นนี้คือป้องกันความเสียกายของข้อมูลที่อยู่ในชั้นถัดไปเป็น ชั้นที่ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ในการโฟกัสหาข้อมูลของแสงเลเซอร์ที่ยิงมาจาก เครื่องอ่านซีดี
2. ชั้นข้อมูล เป็นสารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆ ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ โดยโครงสร้างแล้วจะแบ่งเป็นแทร็กที่เรียงต่อกันเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย
3. ชั้นสะท้อนแสงกลับ เป็นชั้นทำด้วยโลหะ เพื่อให้แสงเลเซอร์ที่ยิงเข้ามาอ่านข้อมูลสะท้อนกลับไปแปลงเป็นรูปแบบข้อมูลที่เครื่องเล่นได้ เหตุที่เรามองเห็นแผ่นซีดีเป็นมันเงาก็เนื่องมาจากชั้นสะท้อนแสงกลับของแผ่นซีดีนี้เองบนชั้นนี้จะมีสารอะครีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminium เพื่อป้องกันผิว ส่วนป้องกัน เป็นส่วนที่เคลือบไว้บางๆบนชั้นสะท้อนแสงกลับเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสะท้อนแสงกลับได้รับความเสียหาย ซึ่งจะมีผลกระทบในความสามารถของการอ่านข้อมูลบนแผ่นโดยตรง
4. ชั้นสลากหรือสติ๊กเกอร์(Label) เป็นชั้นที่อยู่ด้านบนสุด นอกจากใช้เป็นฉลากบ่งบอกรายละเอียดในแผ่นซีดีแล้ว ยังช่วยป้องกันความเสียหายให้ชั้นสะท้อนแสงกลับอีกด้วย
CD-RW (CD-Rewritable) : เป็น แผ่นที่ต่างจากแผ่นซีดีทั่วไป คือ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงแผ่นแล้วผู้ใช้สามารถลบหรือบันทึกทับข้อมูลเดิมได้ หลายครั้ง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่เคลือบอยู่บนพื้นผิว
DVD-rom เป็น แผ่นจานแสงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความจุใน การเก็บข้อมูลแบบดิจิตอล ได้สูงกว่าแผ่นซีดี เป็นจำนวนมาก หลักการของแผ่นดีวีดีนั้น ใช้หลักการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบกับพื้นผิวของจานแสงเหมือนกับแผ่นซีดี แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่แสงเลเซอร์ของแผ่นดีวีดี นั้นมีขนาดที่เล็กกว่าลำแสงของแผ่นซีดี ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลลงไปภายในได้มากกว่า โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 4.7 พันล้านไบต์ (Giga Bytes: GB) ต่างกับแผ่นซีดีที่มีความจุสูงสุดเพียง 650 MB เท่านั้น
DVD-RW และ DVD+RW เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียนเพิ่มเติมลงไปได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่น หรือว่าจะลบข้อมูลทั้งหมดเพื่อเขียนซ้ำลงไปใหม่ได้ ถ้าเป็น DVD-RW เวลาเขียนข้อมูงใหม่เพิ่มเติมลงไปทีละ Session จำเป็นที่จะต้องลบหรือย้ายข้อมูลเก่าทั้งแผ่นออกก่อน ส่วนDVD+RW จะสามารถเขียนข้อมูลใหม่เพิ่มเติมลงไปที sesionได้เลยโดยไม่ต้องลบข้อมูล
Blu-ray มีขนาดแผ่นเท่าๆกับ CD/DVD แต่มีความจุมากกว่าเพราะสามารถจุได้สูงถึงระดับหลายสิบกิกไบต์ (GB) เพื่อรองรับภาพยนตร์ที่ใช้ระดับภาพความระเอียดสูง บริษัท Sony เป็นผู้คิดค้นและออกแบบโดย Apple ,Dell, HPและค่ายอื่นๆรวมถึงค่ายภาพยนตร์อย่าง Columbia Picture ของ Sony ให้การสนบสนุนตัวแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปแต่มีความจุมากกว่าคือ 25 GB และ50 GB
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น